นับตั้งแต่มีการปลดล็อคกระท่อมในประเทศไทย กระแสสังคมต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ไม่ต่างจากกัญชา แต่เนื่องจากแต่เดิมนั้น กระท่อมถือได้ว่าเป็นพืชที่มีการใช้ในประเทศแถบมาลายู เป็นเวลาช้านาน จนกระทั่งถึงยุคสมัยของจอม ป. พิบูลสงคราม ได้จัดให้กระท่อมเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ซึ่งส่งผลให้ไม่ พืชกระท่อมไม่สามารถปลูก จำหน่าย หรือบริโภคได้
การปลดล็อคกระท่อมนั้นได้มีพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ได้ยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นในการปลดล็อคกระท่อม เป็นต้นมา
การปลูกกระท่อมและการนำผลผลิตมาใช้
การปลูกกระท่อมนั้น ผู้ปลูกจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร ตามประกาศสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเรื่อง กำหนดให้เกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร พ.ศ. 2565 โดยมีกำหนดให้เกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียน และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 18 เมษายน 2565 ดังนี้
กระท่อม
- การปลูก : ตลอดปี
- การขึ้นทะเบียน/ปรับปรุงข้อมูล : หลังปลูกไม้น้อยกว่า 30 วัน ถ้ายืนต้นอยู่ให้ปรับปรุงทุกปี
- การตรวจสอบข้อมูล/พื้นที่ : หลังแจ้งขึ้นทะเบียน 60 วัน
- การปรับสมุดทะเบียนเกษตรกร : ตลอดปี
โดยการขึ้นทะเบียนนั้นจะต้องปฏิบัติตามแนวทาง คู่มือการขึ้นทะเบียน และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรปี 2565 ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมษายน 2565 โดยกำหนดว่า ผู้ที่จะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรนั้นจะต้องขึ้นทะเบียนทั้งกรณีบุคคล หรือ นิติบุคคล แต่กรณีนิติบุคคลนั้น จะต้องการมอบหมายตัวแทนมาขึ้นทะเบียน โดยกระท่อม (รวมทั้งกัญชา กัญชง) มีข้อกำหนดของเกษตรกรว่า จะต้องมีเนื้อที่ ตั้งแต่ 1 งานขึ้นไป แล้วจำนวนต้นกระท่อมที่ปลูกนั้นจะต้องไม่น้อยกว่า 20 ต้น
การใช้นำผลิตผลมาใช้ประโยชน์
ภายหลังจากกระท่อมได้รับการถอดออกจากยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 แล้วนั้น ทางกระทรวงสาธารณสุขที่เคยมีประกาศก่อนหน้า เกี่ยวกับการไม่อนุญาตให้นำส่วนต่างๆจากพืชกระท่อมมาใช้งาน ซึ่งได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 430) พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นการ ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางให้สามารถนำกระท่อมนั้นมาประกอบอาหาร หรือ ใช้เป็นสมุนไพร โดยระบุว่า กระท่อมที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. นั้นจะต้องได้รับการตรวจประเมินความปลอดภัยของอาหารซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาหารใหม่ Novel food หรือที่ผลิตเพื่อการส่งออกเท่านั้นเสียก่อน
ถ้าต้องการสนใจเรื่องการขึ้นทะเบียนกระท่อมเป็นอาหารใหม่ (Novel food) ติดต่อเราได้ที่ Line หรือ Facebook