อะไรคืออาหารใหม่??
สิ่งต่างๆตามธรรมชาติ หรือ จากการสร้างโดยมนุษย์ด้วยวิทยาการต่างๆ มีอยู่หลายอย่าง แต่ใช่ว่าทุกอย่างจะสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่าสิ่งต่างๆเหล่านั้นสามารถรับประทานได้ โดยวิธีที่เหมาะสม และปลอดภัย Novel food หรือ อาหารใหม่ ที่บางครั้งสิ่งที่นำมาพิจารณาก็ไม่ได้ใหม่อะไร จึงได้มีแนวโน้มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น แต่ในต่างประเทศนั้นคำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นที่รู้จักการมาช้านาน
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 376) พ.ศ. 2559 เรื่อง อาหารใหม่ (Novel food)1 ได้ให้ความหมายของอาหารใหม่โดยสรุปไว้ว่า วัตถุที่ยังไม่เคยบริโภคเป็นอาหารมาใช้เป็นอาหาร หรือ ประกอบอาหาร อีกทั้งมีการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารโดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่เคยใช้มาก่อน จึงสมควรมีมาตรการ การประเมินความปลอดภัยรองรับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
หากจะสรุปให้เข้าใจโดยง่าย คือวัตถุต่างๆที่นำมาประกอบในอาหารนั้น แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่มีความจำเป็นต้องพิจารณาดูว่า อาหารนั้นปลอดภัยจริงๆ สามารถรับประทานได้หรือไม่
โดยการพิจารณาว่าวัตถุที่เอามากินนั้นจะพิจารณาว่าสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถมาพิจารณาเป็นอาหารใหม่ตามประกาศฯ นั้นได้หรือไม่คือ
- วัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการว่ามีประวัติ การบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่าสิบห้าปี หรือ
- วัตถุที่ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่ กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้นๆ ที่ทำให้ส่วนประกอบ โครงสร้างของอาหาร รูปแบบ ของอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมี ภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต (metabolism) หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์ (level of undesirable substances)
- ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีวัตถุ (๑) หรือ (๒) เป็นส่วนประกอบ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร และอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม
ซึ่งเราตีความตรงๆได้เลยว่า อะไรก็ตามที่มีจะเอามาพิจารณาอาหารใหม่ได้นั้นจะต้อง มีข้อมูลการใช้มากกว่า 15ปี หรือ กระบวนการบวนการผลิตที่แปลกใหม่ ( คือ พิสดารไปจากกรรมวิธีทั่วไป สมมติ อาหารที่ปรุงโดยใช้ความร้อนจากเตาปติกรนิวเคลียร์ ) แต่ไม่รวมอาหารที่เกิดจากการตัดแต่งพันธุกรรม
ข้อสังเกตที่น่าสนใจ แล้วจะมีอาหารใหม่ไปเพื่ออะไร? ถ้าสมมติเราไปต่างถิ่น แล้วเราพบว่าคนในพื้นที่นั้นเอาแมงมุมแม่หม้ายดำให้เรากิน เราจะกล้ากินหรือไม่ แล้วถ้ากินแล้ว เราจะเป็นอะไรมั้ย แน่นอนว่า ถ้าเราอยากรู้ว่าแมงมุมหม้ายดำสามารถกินได้ เราก็ต้องหาข้อมูลที่ เหมาะสม ทั้งในแง่ของ ความปลอดภัย ระยะสั้น และระยะยาว ถ้าสมมติว่าเรากินแมงมุมแม่หม้ายดำแล้วอร่อยชอบ เราจะบอกคนทั้งโลกได้อย่างไรว่า แมงมุมพิษร้ายชนิดนนี้สามารถกินได้ และอยากเอาไปขายที่ต่างๆ แน่นอนว่า อาหารใหม่ หรือ Novel food เราไม่ได้คาดหวังคุณประโยชน์พิเศษจากอาหาร เพราะอาหารคือสิ่งที่กินเข้าไปเพื่อทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ อย่าไปมองว่ากินแล้วจะมีพลังพิสดาร จึงสนใจเฉพาะข้อมูลความปลอดภัยครับ
การประเมินอาหารใหม่ต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง?
เรามักจะเรียกติดปากกันว่าการประเมินอาหารใหม่ แต่จริงๆ แล้วมันคือการประเมินความปลอดภัยของตัวอาหารที่จะขอขึ้นทะเบียนกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ต่อไปผมขอเรียกว่า อย. นะครับยาวเกิน การประเมินความปลอดภัยของอาหารนั้นจะต้องได้รับการประเมินจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก อย. ว่ามีคุณสมบัติที่สามารถประเมินได้ว่าอาหารที่จะขึ้นทะเบียนนั้นมีความปลอดภัย ปัจจุบันมี 3 แห่ง (ถ้าไม่นับจากจุลินทรีย์ที่ดัดแปลงพันธุกรรม) ได้แก่
- สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม
- 3.ศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทย (Thailand Risk Assessment Center: TRAC)2
ข้อมูลที่ต้องใช้ประกอบการพิจารณามีดังนี้
- ข้อมูลทั่วไปของส่วนประกอบ
- ข้อมูลทั่วไปของผลิตภัณฑ์
- ข้อมูลประวัติการบริโภคเป็นอาหาร
- คุณภาพและมาตรฐาน (specification) ของส่วนประกอบ
- คุณภาพและมาตรฐาน (specification) ของผลิตภัณฑ์
- ผลการวิเคราะห์
- การเก็บรักษา
- .กระบวนการผลิต/ การสังเคราะห์/ การสกัด
- ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในการผลิต
- ลักษณะ/ คำแนะนําในการบริโภค
- .ข้อมูลความปลอดภัย
- .ข้อมูลด้านโภชนาการ (nutritional data)
- ผลการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานประเมินความปลอดภัยที่เป็นสากลหรือจากต่างประเทศที่ได้รับ การยอมรับ
สำหรับรายละเอียดทางเพจ Thai registration จะนำมาอธิบายโดยละเอียดใน Part II ครับ
หากเพื่อนๆสนใจปรึกษา การขึ้นทะเบียนอาหารใหม่ สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์ อื่นๆสามารถปรึกษาเราได้โดยสามารถ Inbox ทางเพจได้เลยได้ครับผม
เอกสารที่ใช้อ้างอิง
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๓๗๖) พ.ศ. ๒๕๕๙ เรื่อง อาหารใหม่ (Novel food)
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง รายชื่อหน่วยประเมินความปลอดภัยที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ และแนวทางการประเมินความปลอดภัยอาหาร