(ร่าง) ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณสำหรับสัตว์

เพื่อให้การต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณสำหรับสัตว์เป็นไปโดยรัดกุมเหมาะสม ตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับหลักสากล

อาศัยอานาจตามความในข้อ ๓ วรรคสอง ของกฎกระทรวงว่าด้วยการต่ออายุใบสาคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา พ.ศ. …. เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๒ ผู้รับอนุญาตที่ประสงค์จะต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา ต้องดำเนินการแก้ไข เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงรายการทะเบียนตำรับยาให้มีข้อมูลด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยให้เป็นปัจจุบัน

ข้อ ๓ เอกสารหรือหลักฐานประกอบคำขอต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยา ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(๑) รายการแก้ไข เปลี่ยนแปลงทะเบียนตำรับยาที่ได้รับอนุญาต หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตั้งแต่ได้รับทะเบียน หรือการต่ออายุครั้งล่าสุด

(๒) รายการคำรับรองเงื่อนไขที่ให้ไว้ในการขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือการอนุญาตแก้ไข เปลี่ยนแปลงทะเบียนตำรับยา และรายการปฏิบัติตามคำรับรองดังกล่าว หรือคำรับรองเงื่อนไขที่ยังคงอยู่ที่ให้ไว้ใน การขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือการอนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลงทะเบียนตำรับยา

(3) หนังสือรับรองผลการวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และการปนเปื้อนโลหะหนัก อย่างน้อย 1 รุ่นการผลิต โดยวิธีควบคุมคุณภาพและข้อกำหนดมาตรฐาน ให้เป็นไปตามบัญชี ๑ และ ๒ แนบท้ายประกาศนี้

หนังสือรับรองผลการวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และการปนเปื้อนโลหะหนัก ต้องเป็นหนังสือรับรองผลการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(ก) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์
(ข) ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ทางยา
(ค) ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO)
(ง) ห้องปฏิบัติการของสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้มาตรฐานตาม PIC/s GMP หรือมาตรฐาน GMP ที่สานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเห็นชอบ
(จ) ห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเห็นชอบ

แนบท้ายประกาศสานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการต่ออายุใบสาคัญการขึ้นทะเบียนตารับยาแผนโบราณสาหรับสัตว์

บัญชี 1 รายละเอียดการวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และการปนเปื้อนโลหะหนัก

ลำดับหัวข้อการทดสอบ (Testing parametersวิธีการทดสอบ (Method)เกณฑ์มาตรฐาน
การปนเปื้อนเชื้อ จุลินทรีย์ตำราบริติชฟาร์มาโคเปีย ฉบับ ค.ศ. 2020 เล่มที่ ๑ -๕ (British Pharmacopoeia 2020 Volume I – V) หรือตำรามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (Thai Herbal Pharmacopoeia 2020) หรือฉบับใหม่กว่ารายละเอียดตามบัญชี 2 แนบท้ายประกาศ
การปนเปื้อนโลหะหนักตำรามาตรฐานยาสมุนไพร ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (Thai Herbal Pharmacopoeia 2020) หรือตำรามาตรฐานยาแผนไทยฉบับปี พ.ศ. ๒๕๖๓ (Thai Herbal Preparation Pharmacopoeia 2020) หรือฉบับใหม่กว่า หรือวิธีการทดสอบอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเห็นชอบ(๑) สารหนู (Arsenic) ไม่เกิน 5 ส่วนในล้านส่วน (๒) แคดเมียม (Cadmium) ไม่เกิน 0.3 ส่วนในล้านส่วน (๓) ตะกั่ว (Lead) ไม่เกิน 10 ส่วนในล้านส่วน (๔) ปรอท (Mercury) ไม่เกิน 0.5 ส่วนในล้านส่วน สำหรับยาแผนโบราณที่มีการใช้ตัวยาที่มีส่วนประกอบของโลหะหนักดังกล่าวข้างต้น ให้ใช้ได้เฉพาะตัวยาและปริมาณไม่เกินที่กำหนด ในประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณเกี่ยวกับมาตรฐานการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และโลหะหนัก

บัญชี 2 รายละเอียดข้อกำหนดมาตรฐานจุลินทรีย์ตามรูปแบบยา

รูปแบบยารับประทาน

รูปแบบยาจำนวนรวมของจุลินทรีย์ที่เติบโตโดยใช้อากาศ [Total Aerobic Microbial Count (TAMC)] (cfu/g หรือ cfu/ml)จำนวนรวมของยีสต์ และรา [Total Yeast and Mold Count (TYMC)] (cfu/g หรือ cfu/ml)จุลินทรีย์เฉพาะ (Specified microorganisms)
ก. ตำรับยาที่ประกอบด้วยสารสกัด และ/หรือพืชสมุนไพร (ที่มีหรือไม่มีสารปรุงแต่ง) ซึ่งมีการรับประทานในลักษณะชงด้วยน้ำเดือด ไม่ว่าจะผ่านหรือไม่ผ่านกระบวนการผลิตที่สามารถลดเชื้อจุลินทรีย์หรือไม่ก็ตามไม่มากกว่า ๕ x ๑๐ไม่มากกว่า ๕ x ๑๐– พบเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) ได้ ไม่มากกว่า ๑๐ cfu ใน ๑ กรัม
– ไม่พบแซลโมเนลลา (Salmonella spp.) ใน ๒๕ กรัม
– ไม่พบคลอสทริเดียม (Clostridium spp.) ใน ๑ กรัม
ข. ตำรับยาที่ประกอบด้วยสารสกัด และ/หรือพืชสมุนไพร (ที่มีหรือไม่มีสารปรุงแต่ง) นอกเหนือจาก ก.ไม่มากกว่า ๕ x ๑๐ไม่มากกว่า ๕ x ๑๐– แบคทีเรียแกรมลบที่ทนน้ำดี (Bile-tolerant gram negative bacteria) พบได้ไม่มากกว่า ๑๐ cfu ใน ๑ กรัม หรือ ๑ มิลลิลิตร
– ไม่พบแซลโมเนลลา (Salmonella spp.) ใน ๒๕ กรัม หรือ ๒๕ มิลลิลิตร
– ไม่พบเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) ใน ๑ กรัม หรือ ๑ มิลลิลตร
-ไม่พบคลอสทริเดียม (Clostridium spp.) ใน ๑ กรัม หรือ ๑ มิลลิลิตร
ค. ตำรับยาที่มีส่วนประกอบของสัตว์ และ/หรือแร่ธาตุ เป็นสมุนไพรสาคัญ เว้นแต่กรณีที่เป็นสารช่วย ให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ ก. หรือ ข. แล้วแต่กรณีไม่มากกว่า ๒ x ๑๐ไม่มากกว่า ๒ x ๑๐– แบคทีเรียแกรมลบที่ทนน้ำดี (Bile-tolerant gram negative bacteria) พบได้ไม่มากกว่า ๑๐ cfu ใน ๑ กรัม หรือ ๑ มิลลิลิตร
– ไม่พบแซลโมเนลลา (Salmonella spp.) ใน ๑๐ กรัม หรือ ๑๐ มิลลิลิตร
– ไม่พบเอสเชอริเชียโคไล (Escherichia coli) ใน ๑ กรัม หรือ ๑ มิลลิลิตร
– ไม่พบสแตฟิโลค็อกคัสออเรียส (Staphylococcus aureus) ใน ๑ กรัม หรือ ๑ มิลลิลิตร
– ไม่พบคลอสทริเดียม
(Clostridium spp.) ใน 1 กรัม หรือ 1 มิลลิลิตร

รูปแบบยาใช้เฉพาะที่

รูปแบบยาจำนวนรวมของจุลินทรีย์ที่เติบโตโดยใช้อากาศ [Total Aerobic Microbial Count (TAMC)] (cfu/g หรือ cfu/ml)จำนวนรวมของยีสต์ และรา [Total Yeast and Mold Count (TYMC)] (cfu/g หรือ cfu/ml)จุลินทรีย์เฉพาะ (Specified microorganisms)
ก. ตำรับยารูปแบบเหน็บทวารหนักไม่มากกว่า ๒ x ๑๐ไม่มากกว่า ๒ x ๑๐ไม่มี
ข.
– ตำรับยาที่ใช้กับช่องปาก
– ตำรับยาที่ใช้กับผิวหนัง (ยกเว้นรูปแบบลูกประคบ)
– ตำรับยาที่ใช้ทางจมูก
– ตำรับยาที่ใช้หยอดหู
ไม่มากกว่า ๒ x ๑๐ไม่มากกว่า ๒ x ๑๐– ไม่พบสแตฟิโลค็อกคัสออเรียส (Staphylococcus aureus) ใน ๑ กรัม หรือ ๑ มิลลิลิตร
– ไม่พบซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa) ใน ๑ กรัม หรือ ๑ มิลลิลิตร
– ไม่พบคลอสทริเดียม (Clostridium spp.) ใน ๑ กรัม หรือ ๑ มิลลิลิตร
ค. ตำรับยารูปแบบแผ่นแปะผิวหนังไม่มากกว่า ๒ x ๑๐ไม่มากกว่า ๒ x ๑๐– ไม่พบสแตฟิโลค็อกคัสออเรียส (Staphylococcus aureus) ใน ๑ แผ่น
– ไม่พบซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa) ใน ๑ แผ่น
– ไม่พบคลอสทริเดียม (Clostridium spp.) ใน ๑ แผ่น
ง. ตำรับยารูปแบบลูกประคบไม่มากกว่า ๕ x ๑๐ไม่มากกว่า ๕ x ๑๐– ไม่พบสแตฟิโลค็อกคัสออเรียส (Staphylococcus aureus) ใน ๑ กรัม
– ไม่พบซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa) ใน ๑ กรัม
– ไม่พบคลอสทริเดียม (Clostridium spp.) ใน ๑ กรัม