การขึ้นทะเบียนกระท่อมเพื่อจัดจำหน่าย

จะเห็นได้ว่า แม้ว่ากฎหมายประเทศไทยจะเปิดช่องให้ขึ้นทะเบียนกระท่อมเพื่อให้เป็นเศรษฐกิจตัวใหม่แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความปลอดภัย และความเหมาะสมในบริบทของประเทศไทยนั้น ก็ยังคงมีการกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอยู่ ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มได้ดังนี้

  1. ใบกระท่อมสด สามารถจำหน่ายได้ แต่หากว่านำใบสดมาประกอบอาหาร ต้ม จะไม่สามารถจำหน่ายได้ (สามารถทำกินในครัวเรือนได้อย่างเดียว)
  2. ชากระท่อม,ผงกระท่อม,แคปซูลกระท่อม,น้ำต้มกระท่อม จะถูกจัดอยู่ในรูปแบบของสมุนไพรซึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนตาม พ.ร.บ. สมุนไพร 2562
  3. ผงกระท่อม, ใบกระท่อม และสารสกัดกระท่อม ใช้เป็นตำรับยาแผนไทยซึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนตาม พ.ร.บ. สมุนไพร 2562
  4. ผงกระท่อม, ใบกระท่อม สารสกัดกระท่อม , กาแฟใบกระท่อม, ขนม อาหารต่างๆ จะถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบของอาหารใหม่

จะเห็นได้ว่า ข้อ 3 และ 4 นั้นจะมีส่วนนึงที่ซ้อนทับกันระหว่าง สมุนไพร และอาหารใหม่ อย่างไรก็ตาม การพิจารณาว่าจะเป็นอาหารใหม่หรือ สมุนไพร นั้นจะพิจารณาจากวัตถุประสงค์การขึ้นทะเบียน กล่าวคือ สมุนไพร จะมีฤทธิ์ทางยา หมายความว่า การขึ้นทะเบียนจะต้องมีการพิจารณาสรรพคุณทางยา และความเป็นพิษร่วมด้วย โดยกองผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะเป็นผู้รับผิดชอบการขึ้นทะเบียนในส่วนนี้ ซึ่งจะต้องถูกขึ้นทะเบียนในรูปแบบของ สมุนไพร ค 3

ส่วนอาหารใหม่นั้น จะมีการพิจารณาความปลอดภัยอย่างเดียว ไม่มีคุณสมบัติทางยา โดยกองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะเป็นผู้รับผิดชอบการขึ้นทะเบียนอาหารใหม่ในส่วนนี้ คลิ๊ก

***สำหรับส่วนอื่นๆ ของกระท่อม เช่น กากใบกระท่อม หรือต้นกระท่อมนั้น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เป็นผู้รับผิดชอบ

หากสนใจเรื่องขึ้นทะเบียนกระท่อมเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรืออาหารใหม่ (Novel Food) ติดต่อเราได้ครับ

พืชกระท่อมขอ อย. อย่างไร
ภาพจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา